เกี่ยวกับสหกิจศึกษา
ความหมายของ มพ 497 สหกิจศึกษา (Cooperative Education)
เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการ ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ อย่างมีระบบ โดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษา ร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงาน จริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือ เป็นเวลา 16 สัปดาห์ นักศึกษาสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ จากการไปปฏิบัติงาน และทำให้นักศึกษา มีคุณภาพตรง ตามที่ สถานประกอบการ ต้องการมากที่สุด
กระบวนการดำเนินงานสหกิจศึกษา
เตรียมความพร้อมนักศึกษา
จัดฝึกอบรมสหกิจศึกษาให้นักศึกษาเข้าใจ และรับทราบประโยชน์ของ การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา การพัฒนาบุคคลิกภาพ เครือข่ายงานในสาขาวิชาชีพที่นักศึกษาสนใจ เป็นการเตรียมความพร้อมในส่วนตัวนักศึกษาเองที่จะเข้าสู่สังคม และตลาดแรงงาน
หาตำแหน่งงาน
นักศึกษาที่ติดต่อสถานประกอบการ เพื่อขอสมัครเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เสมือนเป็นพนักงานชั่วคราว ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ได้รับความเห็นชอบ และเขียนเป็นโครงการ โดยมีพนักงานผู้รับผิดชอบฝ่ายสถานประกอบการ และ อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา จากทางมหาวิทยาลัย
เตรียมตัวก่อนปฏิบัติงาน
จัดการฝึกอบรมนักศึกษาด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ก่อนออกปฏิบัติงาน ได้แก่ เทคนิคการนำเสนองาน วัฒนธรรมองค์กร การเผชิญสถานการณ์ ในสถานประกอบการ การวางตัวในสังคมในฐานะตัวแทนมหาวิทยาลัย และ การฝึกอบรมเตรียมความพร้อม เฉพาะด้านวิชาชีพที่นักศึกษาจะไปปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ
นักศึกษาปฏิบัติงานที่สถานประกอบการเป็นเวลา 16 สัปดาห์ ภายใต้การดูแลของ พนักงานที่ปรึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา และมีอาจารย์ไปนิเทศงานอย่างน้อย 1 ครั้ง
ปฏิบัติครบ 16 สัปดาห์
มหาวิทยาลัยจัดสัมมนาสหกิจศึกษา โดยสาขาวิชาและรับสัมฤทธิบัตรจาก อธิการบดี โดยเชิญตัวแทนสถานประกอบการมานำเสนอผล จากการปฏิบัติงานของนักศึกษา และนักศึกษานำเสนอประสบการณ์การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเป็นการให้โอกาสนักศึกษา ที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้งานสหกิจศึกษา
|
อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา
บทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ประจำสาขาวิชา
1. รับผิดชอบการปฏิบัติงานของนักศึกษาในสาขาวิชาของตน
2. ประสานงานกับสถานประกอบการที่มีความสัมพันธ์กับหลักสูตรอยู่แล้ว เพื่อให้ได้สถานประกอบการที่สามารถรับนักศึกษาไปปฏิบัติงานได้
3. ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงาน คัดเลือกนักศึกษาลงตำแหน่งงาน และ ประกาศผลการคัดเลือก
4. ประสานงานกับพนักงานผู้รับผิดชอบของสถานประกอบการ เพื่อได้รายละเอียดการปฏิบัติงานของนักศึกษาที่อาจารย์รับผิดชอบ
5. จัดโปรแกรมการปฏิบัติงานของนักศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ ดังนี้
- พื้นฐานของนักศึกษาความรู้ที่จำเป็นความสามารถเบื้องต้นและบุคลิกภาพ
- การพัฒนาการและการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา
- การให้ความรู้ ให้คำแนะนำ การติดตาม รวมถึงการดูแลและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของนักศึกษา - การประเมินผลการปฏิบัติของนักศึกษา
6. การนิเทศงาน ณ สถานประกอบการอย่างน้อย 1 ครั้ง
7. ให้คำปรึกษา พิจารณาหัวข้อโครงงานของนักศึกษาร่วมกับพนักงานที่ปรึกษา
8. ประเมินผลการปฏิบัติงานนักศึกษา
กิจกรรมการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
นักศึกษาปฏิบัติงานที่สถานประกอบการเป็นเวลา 16 สัปดาห์ ภายใต้การดูแลของ พนักงานที่ปรึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา และมีอาจารย์ไปนิเทศงานอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยอาจารย์นิเทศจะต้องกรอกเอกสารตามโครงการสหกิจศึกษาดังนี้
? แบบบันทึกข้อมูลสถานประกอบการ
? แบบแจ้งยืนยันการนิเทศงาน
? แบบบันทึกการนิเทศงาน
? แบบสรุปผลการประเมินการเข้าร่วมสหกิจของสาขาวิชา
กิจกรรมหลังจากการปฏิบัติงาน
สาขา วิชาฯ จัดสัมมนาการนำเสนอประสบการณ์การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ซึ่งเป็นการให้โอกาสนักศึกษา ที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้งานสหกิจศึกษา จัดเตรียมสัมฤทธิบัตร โดยประสานงานกับคณะกรรมการดำเนินงานสหกิจศึกษา จัดทำให้ และเชิญตัวแทนสถานประกอบการมานำเสนอผลจากการปฏิบัติงานของนักศึกษา
ประโยชน์ที่อาจารย์ สาขาวิชา และ มหาวิทยาลัยจะได้รับ
1. ได้ ความร่วมมือทางวิชาการกับสถานประกอบการ มีโอกาสในการพัฒนาจากความรู้นอกห้องเรียนและโจทย์การวิจัย โดยผ่านทางนักศึกษาและ อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา
2. ทราบแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหาวิชาในหลักสูตร และคุณภาพบัณฑิต ให้สอดคล้องต่อความต้องการของตลาด
3. เปิดวิสัยทัศน์ของบุคลากรในมหาวิทยาลัย ให้สอดคล้องต่อความต้องการของตลาด
4. ภาพพจน์ที่ดีในการให้โอกาสนักศึกษาปฏิบัติงานจริง ในขณะที่ศึกษาอยู่
|
สถานประกอบการ
แจ้งความประสงค์ในการรับนักศึกษาสหกิจศึกษา
สถาน ประกอบการที่ประสงค์จะรับนักศึกษาสหกิจเข้าปฏิบัติงานในภาคการศึกษาใด โครงการสหกิจศึกษาใคร่ขอให้แจ้งความต้องการรับนักศึกษามาที่โครงการฯ ก่อนภาคการศึกษาที่นักศึกษาจะไปปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ภาค การศึกษา เพื่อที่ทางโครงการฯจะได้จัดหานักศึกษาได้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบ การ ซึ่งจะทำให้สถานประกอบการสามารถวางแผนการปฏิบัติงานให้แก่นักศึกษาสหกิจได้ ล่วงหน้า โดยสามารถกรอกแบบฟอร์มต่อไปนี้
? แบบเสนองาน
? แบบตอบรับเข้าร่วมสหกิจศึกษา
ลักษณะงานที่เป็นสหกิจศึกษา
1. นักศึกษาปฏิบัติงานตามโครงการที่ทางสถานประกอบการ และอาจารย์ที่ปรึกษาเห็นชอบโดยมีพนักงานที่ปรึกษาดูแลระหว่างปฏิบัติงาน
2. นักศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอน อย่างน้อย 70% ของงานทั้งหมดในโครงการและอาจได้รับมอบหมายงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้
3. ทำงานเต็มเวลา เสมือนพนักงานชั่วคราว
4. ระยะเวลาปฏิบัติงาน 1 ภาคการศึกษา (16 สัปดาห์)
5. มีการนิเทศงานโดยอาจารย์นิเทศของหลักสูตรที่นักศึกษาสังกัด
6. มีค่าตอบแทนตามสมควร ตามนโยบายของสถานประกอบการ
ประโยชน์ที่สถานประกอบการจะได้รับ
1. มีโอกาสพัฒนาบุคลากรตามแนวทางของสถานประกอบการเอง เพื่อจบมาเป็นพนักงานของตนเอง หรือสถานประกอบการอื่นในสาขาวิชาชีพเดียวกัน
2. มีโอกาสคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณภาพมาเป็นพนักงาน โดยผ่านการทดลองงานมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว
3. มีโอกาสปรึกษา หารือ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กับอาจารย์ในสาขาวิชาชีพเดียวกัน
4. ภาพพจน์ที่ดีในการช่วยเหลือสังคม โดยช่วยผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของสาขาวิชาชีพนั้น ๆ
|